ผู้สนับสนุน
โรคซึมเศร้า กับช่วงเวลาที่ถือว่าได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงเวลานี้ เพราะเป็นหนึ่งในโรคร้ายแรงที่กำลังรุกเร้าเข้าสู่สังคมไทย โดยต้องขอบอกก่อนว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเรามักจะได้เห็นการนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ผ่านสื่อต่าง ๆ มากมาย ที่ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป หรือดาราคนดัง และร่วมไปถึงข่าวอาชญากรรมต่าง ๆ ที่สุดท้ายแล้วมักจะจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย ซึ่งสาเหตุจากเหตุการณ์ดังกล่าวถือว่ามีจุดเชื่อมโยงกับการเป็นโรคซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นมันถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรจะต้องตระหนักว่า โรคซึมเศร้ากำลังเป็นโรคใกล้ตัวกว่าที่เราเคยคิดเอาไว้ เพราะถ้าหากเราได้ติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดจริง ๆ แล้ว เราจะรู้สึกได้ว่าภายในเนื้อหาข่าวเหล่านั้น แทบจะไม่ได้นำเสนอความรู้ในเชิงลึกให้กับเราสักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคซึมเศร้า ในมุมมองต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพื่อที่อย่างน้อยจะสามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์และรวมไปถึงการป้องกันจากคนใกล้ตัวให้ได้ทันเวลา
โรคซึมเศร้าคืออะไร
โรคซึมเศร้าคืออะไร กับคำถามยอดฮิตที่มักจะได้ยินกันมาตลอด สำหรับโรคซึมเศร้านั้นเป็นอาการที่เกิดมาจากความผิดปกติของสมอง ที่อยู่ในส่วนที่มีผลกระทบโดยตรงต่อความคิด อารมณ์ การตัดสินใจ ความรู้สึก สุขภาพ และรวมไปถึงพฤติกรรม เพราะปกติแล้วคนส่วนใหญ่ที่คลุกคลีกับกลุ่มคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะนึกถึงเพียงแค่ อาการ หรือ สภาพจิตใจ ของผู้ที่กำลังเผชิญอยู่เพียงเท่านั้น จึงทำให้หลายคนคิดแค่ว่า โรคซึมเศร้าเป็นอาการข้างเคียงที่เกิดมาจาก อาการเศร้าที่เกิดมาจากความผิดหวังหนัก ๆ หรือ การได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสภาพจิตใจ และมักจะรักษาอาหารเหล่านั้นด้วยการให้กำลัง ปลอบชโลม ซึ่งจากความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เราคิดนั้นมันเป็นส่วนที่อย่างมากในการแก้ปัญหา เพราะจริง ๆ แล้วสาเหตุของโรคซึมเศร้าที่แท้จริงนั้นเกิดมาจากความไม่สมดุลกันของ สารสื่อประสาท 3 ชนิด ซึ่งนั่นก็คือ ส่วนซีโรโตนิน ส่วนเอปิเนฟริน และ ส่วนโดปามีน และทั้ง 3 ชนิดก็มีผลโดยตรงกับระบบประสาท เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์โดยตรงและจำเป็นอย่างมากที่จะต้องได้รับการบำบัด และทานอย่างอย่างถูกวิธี
โรคซึมเศร้ากับสถิติที่น่าตกใจ
ในโลกของเราจะมีประชากรโลกอยู่ที่จำนวนราว ๆ 7.6 พันล้านคน และต้องบอกว่าตัวเลขของจำนวนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้น มีตัวเลขมากถึง 300 ล้านคน หรือคิดง่าย ๆ ก็คือเกือบถึง 4% ของประชากรโลกทั้งหมดเลยทีเดียว ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่เยอะมาก ๆ และถ้าหากเปรียบเทียบภายในประเทศไทย เราจะพบว่าตัวเลขของผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าภายในประเทศไทยนั้นมีมากถึง 1.5 ล้านคน หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นของจำนวนประชากรของประเทศไทยทั้งหมดนั่นก็คือ 2.2% ซึ่งจำนวนประชากรภายในประเทศไทยนั้นมีอยู่ที่ 69 ล้านคนโดยประมาณ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่เยอะมาก ๆ และยิ่งไปกว่านั้นถ้าหากเราเจาะจงตัวเลขลึกลงไปอีก เราก็จะพบว่ามีจำนวนตัวเลขของประชาชนที่ฆ่าตัวตายที่มีสาเหตุโดยตรงจากโรคซึมเศร้า ก็จะพบตัวเลขที่มากถึง 4,000 คนต่อปีเลยทีเดียว ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่เยอะมาก ๆ นั่นเอง
พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม สาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้า
หลายคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่าจริง ๆ แล้ว สาเหตุที่จะทำให้เราสามารถป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้นั้น ประกอบไปด้วย พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และการใช้ชีวิตโดยตรง เพราะจากข้อมูลที่มีการเปิดเผยออกมาบอกเอาไว้ว่า
ถ้าหากคนภายในครอบครัวของคุณ โดยจะนับเฉพาะญาติที่เป็นสายตรงเพียงเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ พี่ น้อง ถ้าหากมีใครเป็นโรคซึมเศร้า บุคคลที่สืบต่อนั้น จะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนทั่วไปมากถึง 20% เลยทีเดียว
การใช้ยาบางอย่างส่งผลโดยตรงต่อสภาวะทางด้านจิตใจ จึงส่งผลต่ออาหารของโรคซึมเศร้า โดยยกประเภทของตัวอย่างยาที่เป็นยาที่จะกดประสาทอย่าง ยานอนหลับ (บางตัว) ยาแก้อีกเสบ (บางตัว) และรวมไปถึงสารเสพติดและแอลกอฮอล์อีกด้วย
ประเภทของโรคซึมเศร้า
สำหรับโรคซึมเศร้า ที่หลายคนเข้าใจว่าเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อจิตใจ แต่จริง ๆ แล้วโรคซึมเศร้านั้นมีอยู่หลายประเภทอย่างมาก ซึ่งอาการแต่ละอย่างของคนที่เป็น รวมไปถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะแตกต่างกันออกไป เช่น
โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression) : สำหรับอาการของโรคซึมเศร้าที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มชนิดนี้ ก็คืออาการพื้นฐานของกลุ่มผู้ป่วยที่มีการซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ โดยอาการที่จะพบเจอได้ทั่วไปเลยนั่นก็คือ มักจะมีอาการของความซึมเศร้ามากจนไม่มีความสุข สนไม่สามารถที่จะสนใจสิ่งต่าง ๆ ที่เคยชื่นชอบก่อนหน้านี้ได้
โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia Depression) : สำหรับอาการของโรคซึมเศร้าที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มชนิดนี้ ก็คือกลุ่มอาการของผู้ป่วย ที่จะมีอาการที่รุนแรงน้อยกว่าชนิด เมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression) แต่จุดที่น่าสนใจก็คือเวลาที่เป็นมานานกว่า เพราะคนที่เป็นโรคซึมเศร้าในกลุ่มนี้ก็คือบุคคลที่มีอาการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจจะไม่รุนแรงจนไม่สามารถถึงขั้นไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะอาการพื้นฐานก็เป็นเพียงอาการที่ไม่อยากอาหาร หรือ นอนไม่ค่อยหลับ จึงทำให้อ่อนเพลียจนทำให้ไม่มีสติ และสมาธิกับการตัดสินใจ จนทำให้สภาพแวดล้อมแย่ลงไปนั่นเอง
โรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นก่อนมีระดู (Premenstrual depressive disorder) : สำหรับอาการของโรคซึมเศร้าชนิดสุดท้ายนี้ ก็คือกลุ่มอาการของผู้ป่วยที่มีอาการเกิดขึ้นในช่วงเวลาของสัปดาห์สุดท้ายก่อนที่จะมี ระดู (ซึ่งมีผลโดยตรงต่อสุภาพสตรี) สำหรับอาการโดยรวมนั้น จะมีอาการที่ดีขึ้นตามลำดับหลังจากผ่านไป 2-3 วัน โดยที่อาการที่จะพบได้ทั่ว ๆ ไปนั่นก็คือ อาการทางอารมณ์ ที่จะรู้สึกแกว่งกว่าปกติ มีอาการเศร้า อ่อนไหวได้ง่าย ๆ กับเรื่องที่พบเจอทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน จนนำไปถึงอาการพื้นฐานอย่าง ความเครียด สมาธิลดลง นอนไม่หลับ และรวมไปถึงมีผลโดยต่อต่อสภาพร่างกายอีกด้วย นั่นก็คือ อาการเจ็บตรงบริเวณเต้านม เต้านมบวม และปวดตามกล้ามเนื้อต่าง ๆ
การให้กำลังใจและช่วยเหลือผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
ทุกวันนี้เราสามารถพบเจอกับบุคคลที่เป็นโรคซึมเศร้าได้อยู่ตลอดเวลา และเมื่อไหร่ก็ตามที่เราพบว่าคนใกล้ชิดของเรา ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนสนิท หรือ รวมไปถึงเพื่อนร่วมงาน ที่กำลังพบว่าตัวของเขาเองนั้นมีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ สิ่งที่เราจำเป็นจะต้องเรียนรู้เป็นอันดับแรกนั่นก็คือ การทำให้ผู้ป่วยเค้ารู้สึกว่าตัวของเขาเองนั่นมีค่า และมีกำลังใจรวมไปถึงจุดมุ่งหมายในการใช้ชีวิต สำหรับการให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยที่ได้ผลมากที่สุดนั่นก็คือ เราควรที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ดี เพราะมันจะสามารถทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกที่ผ่อนคลาย โดยที่ผู้ใกล้ชิดสามารถที่จะสื่อสารกับผู้ป่วยโดยตรงด้วยประโยคที่เป็นแรงผลักดันในการใช้ชีวิต และกำลังใจในการใช้ชีวิตได้ด้วยโยคพื้นฐานทั่ว ๆ ไป แต่ในขณะเดียวกันก็อย่าลืมว่าประโยคเหล่านั้นไม่ควรจะเป็นประโยคที่มีลักษณะในเชิงกดดัน เพราะมันจะสามารถทำให้ผู้ที่กำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้านั้นไม่รู้สึกถึงความเครียด และจะทำให้สามารถพูดถึงความคิดต่าง ๆ ของเขาได้มากยิ่งขึ้น
สรุป
โรคซึมเศร้า เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ เพราะมันมีผลโดยตรงกับส่วนของระบบประสาทในส่วนที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งควบคุมความรู้ต่าง ๆ ภายในระบบสมองของเรา จนกลายมาเป็นสาเหตุของผู้ป่วยของอาการโรคซึมเศร้า และอาการป่วยที่เกิดขึ้นก็มีหลายระดับ จึงควรเลือกดูแลและรักษาด้วยวิธีการที่แต่งต่างกันไปอย่างถูกต้อง เพราะถ้าหากเราเข้ารับการรักษาได้อย่างถูกวิธี โอกาสที่จะส่งผลกระทบรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวนั้นก็จะสามารถลดลงได้
แหล่งอ้างอิง
https://shorturl.asia/XE2Uk
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-0924
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017
https://www.bangkokhospital.com/content/neurotransmitters-and-depression
https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2409
http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/indi_popworld.html
https://www.cigna.co.th/health-wellness/tip/how-to-observe-depression-2020
ผู้สนับสนุน